พ.ศ. 2505 (ค.ศ.1962) สมโพธิ แสงเดือนฉาย ไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นด้วยทุนของ รัฐบาลไทย ธนาคารออมสิน ศึกษาอยู่ในโรงถ่ายโตโฮ กับอาจารย์ เอยิ ซึบูราญ่า และอาจารย์อากิระ คูโรซาวะ และได้สนิทสนมกับอาจารย์เอยิ จนเหมือนลูกของท่าน
พ.ศ. 2508-2509 (ค.ศ.1965-1966) ภาพยนตร์อุลตร้าแมนถูกสร้างสรรค์ขึ้น
พ.ศ. 2516 (ค.ศ.1973) สมโพธิ แสงเดือนฉาย ออกเงินสร้างภาพยนตร์ “ยักษ์วัดแจ้งจัมโบ้เอ” โดยว่าจ้างบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ ผลิตให้ เนื่องจาก สมโพธิ แสงเดือนฉาย ต้องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่น ที่กำลังประสบปัญหา
พ.ศ. 2517 (ค.ศ.1974) สมโพธิ แสงเดือนฉาย ว่าจ้าง บริษัทเดิม สร้างภาพยนตร์เรื่อง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” โดย สมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นผู้เขียนบทเอง ถ่ายทำทั้งที่ประเทศไทย และญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จทำรายได้มหาศาล
พ.ศ. 2518 (ค.ศ.1975) นาย โนโบรุ ซึบูราญ่า ประธาน บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่น ในสมัยนั้นแอบขายภาพยนตร์เรื่อง “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” ให้กับ บริษัท ชอว์บาร์เดอร์ ฮ่องกง และบริษัทภาพยนตร์ไต้หวัน รับเงินไปกว่า 2 แสนเหรียญสหรัฐ โดยแจ้งแก่ สมโพธิ แสงเดือนฉาย ภายหลังจากนั้นว่าเป็นการขอยืมเงิน
4 มีนาคม พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) นายโนโบรุ ซึบูราญ่า ทำสัญญาโอนสิทธิลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนอย่างผูกขาดแต่ผู้เดียวทั่วโลก เป็นระยะเวลาตลอดไปแก่ สมโพธิ แสงเดือนฉาย เนื่องจากไม่มีเงินชำระหนี้คืน
พ.ศ. 2522 (ค.ศ.1979) ภาพยนตร์เรื่อง “หนุมาน 7 ยอดมนุษย์” ออกฉายในประเทศญี่ปุ่น ได้เงินไปกว่า 70 ล้านบาท
เมษายน พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) สมโพธิ แสงเดือนฉาย ผลิตภาพยนตร์เรื่อง “หนุมานพบ11 ยอดมนุษย์” ออกฉายในประเทศไทย
พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) สมโพธิ แสงเดือนฉาย จดแจ้งลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนแก่กรม ทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทย
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ออกจดหมาย ขอโทษแก่ สมโพธิ แสงเดือนฉาย และยอมรับสิทธิตามสัญญา พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) ภายหลังจากที่ สมโพธิ แสงเดือนฉาย พบว่า บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชันส์ จำกัดได้ละเมิดสิทธิของ สมโพธิ ตามสัญญานั้นทั่วโลกมาเป็นเวลานาน
พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อทำสัญญาฉบับใหม่ล้มเหลว เนื่องจาก บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ขาดความจริงใจและไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิของตนหลายประการ และเสนอเงื่อนไขสัญญาที่เอาเปรียบ โดยเสนอให้สิทธิ สมโพธิ แสงเดือนฉาย เพียง 5 ประเทศ ในอินโดจีน เท่านั้น (คือลาว เขมร พม่า เวียดนาม และไทย)
กรกฎาคม พ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ยื่นฟ้อง สมโพธิ แสงเดือนฉาย ที่ประเทศญี่ปุ่น ธันวาคม 2540 (ค.ศ.1997) บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ยื่นฟ้อง สมโพธิ แสงเดือนฉาย ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และแจ้งความเท็จ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ประเทศไทย
ลำดับเหตุการณ์ ต่อ
4 เมษายน พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ สมโพธิ แสงเดือนฉาย ชนะคดีและมีสิทธิตามสัญญาทุกประการ โดยพิพากษาให้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่ สมโพธิ และให้บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด หยุดการกระทำละเมิดสิทธิของ สมโพธิ และให้ชำระค่าเสียหายแก่ สมโพธิ เป็นเงิน 12,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ฝ่ายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ศาลฎีกา ประเทศไทยมีคำสั่ง 3 คำสั่ง ลงมาให้โจทก์ (บริษัท ซึบูราญ่าโปรดักชั่นส์ จำกัด) นำเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นศาลฎีกามาวางต่อศาลเป็นจำนวนเงิน 1,800,000 บาท นำเงินค่าเสียหายตามคำพิพากมาวางต่อศาลเป็นจำนวนเงิน 12,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5% ต่อปีอีก 2 ปี นับจากวันฟ้อง (พ.ศ.2540) ไปอีก 2 ปี และนำเงินประกันความเสียหายต่อ สมโพธิ มาวางต่อศาล เป็นจำนวนเงินเดือนละ 5,000,000 บาท เป็นเวลา 2 ปี เป็นเงิน 120,000,000 บาท หากโจทก์ต้องการทุเลาการบังคับคดีตามคำพิพากษา บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัดไม่ยอมนำเงินมาวางตามคำสั่งศาลฎีกา
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ศาลแขวงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตัดสินให้ สมโพธิ แสงเดือนฉาย มีสิทธิตามสัญญาทุกประการ เช่นเดียวกันกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ประเทศไทย เป็นการยืนยันความสมบูรณ์ของสิทธิอุลตร้าแมนของ สมโพธิ แสงเดือนฉาย
ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 มี.ค 2546
ญี่ปุ่น โวย อุลตร้าแมนไทยละเมิดคำสั่งศาล ออกมาให้ข่าวเป็นเจ้าของสิทธิ์ยอดมนุษย์อุลตร้าแมน ชี้ให้ข่าวเอาแต่ได้เพียงด้านเดียว ระบุใช้สิทธิ์อุลตร้าแมนได้เพียง 9 เรื่องเท่านั้น พร้อมเตรียมจัดแถลงข่าวเกรงคนเข้าใจผิด
จากกรณีที่ทาง "บริษัท ซึบูราญ่า ไชโย" จำกัด โดยอุลตร้าแมนไทย "นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย" ได้ออกมาแถลงข่าวถึงการตัดสินของศาลชั้นต้น ของประเทศญี่ปุ่นเกี่ยวกับกรณีพิพาทในเรื่องคดีความเรื่องการโอนสิทธิ์ในตัวอุลตร้าแมน ระหว่างนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย และทางบริษัทซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น โดยระบุว่าศาลแขวงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตัดสินคดีพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน ให้นาย "สมโพธิ แสงเดือนฉาย" ได้สิทธิ์ทางการค้าทั่วโลกของอุลตร้าแมน แต่เพียงผู้เดียว ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่นนั้น (อ่านยุ่นช็อค! อุลตร้าแมนเป็นของคนไทย)
ล่าสุดนายพนม จอดเกาะ ตัวแทนทนายความของบริษัทซึบูราญ่าฯ ของประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวชี้แจงว่า การออกมาให้ข่าวของนายสมโพธินั้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล เนื่องจากผลของการตัดสินนั้นเป็นการให้ใช้สิทธิ์ โดยห้ามจำเลยไปกล่าวอ้างกับใครว่าเป็นเจ้าของสิทธิ์
ตัวแทนของทางญี่ปุ่นยังได้บอกต่อไปด้วยว่าผลการตัดสินดังกล่าว ไม่ได้แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นของไทย ที่ตัดสินออกมา เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2543 เท่าใดนัก โดยแบ่งเป็น 2 ข้อ คือ ยอมรับว่า อุลตร้าแมน เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของซึบูราญ่าฯ (ญี่ปุ่น) และข้อสองคือ หนังสือสัญญาฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2519 ที่ระบุว่ามีการขายลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน และผลงานเกี่ยวข้องรวม 9 เรื่อง เป็นหนังสือสัญญาจริง (อ่านปริศนา อุลตร้าแมน ฝีมือคนไทย หรือคนญี่ปุ่น)
"แต่คำสั่งศาลระบุไว้ชัดเลยว่าห้ามไม่ให้จำเลย ไปกล่าวอ้างกับใครว่าเป็นเจ้าของสิทธิ์ เพราะผลการตัดสินนั้นคือการให้ใช้สิทธิ์เท่านั้น แต่ที่เขาออกมาพูดมันเหมือนกับว่าเขาเป็นเจ้าของ ซึ่งไม่ถูก แล้วอีกอย่างทางนั้นเขาก็ไม่ได้บอกให้ละเอียดด้วยว่า ลิขสิทธิ์ที่เขาได้นั้นมันมีเพียงภาพยนตร์แค่ 9 เรื่องเท่านั้น ซึ่งตอนนี้คนทั่วไปก็กำลังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไปใหญ่แล้ว"
ตัวแทนของทางญี่ปุ่นยังได้กล่าวต่อไป ด้วยว่าการตัดสินของศาลที่ออกมา เป็นเพียงแค่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ซึ่งทางตนเองก็ยอมรับในมติของศาล แต่อย่างไรเรื่องนี้ก็ยังคงจะต้องมีการต่อสู้กันต่อไป เพราะทางตนยังมั่นใจว่าสัญญาการโอนให้ใช้สิทธิ์ ในตัวยอดมนุษย์อุลตร้าแมน และผลงานภาพยนตร์ทั้ง 9 เรื่องนั้นเป็นสัญญาที่อีกฝ่ายได้มาอย่างไม่ถูกต้อง
"นอกจากนี้เรื่องที่ทางเขาทำอุลตร้าแมนตัวใหม่ (อุลตร้าแมนมิลเลเนี่ยมขึ้นมา) ก็ไม่ถูกต้องเพราะเขาไม่มีสิทธิ์ในการที่จะสร้างสรรค์อุลตร้าแมนตัวใหม่ที่นอกเหนือ ไปจากในส่วนของภาพยนตร์ทั้ง 9 เรื่องที่เขาได้สิทธิ์ แล้วตัวเที่เขาทำขึ้นมาก็ยังเป็นการลอกเลียนเอาลักษณะของคาแรกเตอร์ต่างๆ ของอุลตร้าแมนที่ทางญี่ปุ่นเป็นคนสร้างสรรค์ขึ้นมาในภายหลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง (อ่านญี่ปุ่นเปิดเกมอุลตร้าใหม่ชี้ “มิลเลเนี่ยม”ละเมิดชัวร์) เราจะต้องดำเนินการกันต่อไป เพียงแต่ต้องรอให้กระบวนการ มันถึงที่สุดเสียก่อน "
"แล้วที่เขาพูดก็เป็นการพูดเอาแต่ได้เพียงข้างเดียว ทีเรื่องที่ศาลเขาห้ามไม่ให้เขาทำอะไรได้บ้าง ทำไมเขาถึงไม่ชี้แจงออกมา แล้วก็มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่ยังไม่เข้าใจ ตอนนี้ทางเราก็ค่อนข้างจะเสียหาย เพราะคนต่างก็เข้าใจผิดกันหมด ก็เลยต้องออกมาชี้แจง"
งานนี้บอกได้คำเดียวว่า ระฆังยกแรกเพิ่งจะดัง...
20 ธ.ค. 2549
ศาลญี่ปุ่นตัดสินคดีพิพาทลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนให้ “สมโพธิ แสงเดือนฉาย” ได้สิทธิสัญญาแต่เพียงผู้เดียว หลังจากที่คดีลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน ยืดเยื้อมานานถึง 7 ปี สุดท้ายได้บทสรุปที่ถูกต้องและเป็นธรรมต่อคนไทย
วันนี้ (5 มี.ค.)มีการแถลงข่าวชัยชนะคดีลิขสิทธิ์ “อุลตร้าแมน” ขึ้น โดย นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ประธานบริษัท ซึบูราญ่า ไชโย จำกัด เปิดเผยถึง ชัยชนะในคดีลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยศาลชั้นต้น ณ ประเทศญี่ปุ่น ได้ตัดสินชี้ขาดให้เป็นผู้ได้สิทธิทางการค้าทั่วโลกของอุลตร้าแมนแต่เพียงผู้เดียว ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น
การตัดสินในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าเรามีสิทธิทุกประการแต่เพียงผู้เดียวในการดำเนินการทางการค้ากับลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน ซึ่งศาลที่ตัดสินกรณีพิพาทครั้งนี้เป็นศาลของประเทศคู่กรณี ดังนั้นจึงน่าจะบอกได้อย่างชัดเจนว่า กรณีพิพาทที่ยาวนานถึง 7 ปีนี้ ใครคือผู้ที่มีสิทธิในอุลตร้าแมนตัวจริง” นายสมโพธิกล่าว
อุลตร้าแมนยอดมนุษย์ขวัญใจเด็กๆ โดยจุดเริ่มต้นของคดีประวัติศาสตร์นี้ เริ่มด้วยการที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้ทุนรัฐบาลไปเรียนที่ญี่ปุ่น โดยได้มีโอกาสไปศึกษาอยู่ที่โรงถ่ายโตโฮ กับอาจารย์เอยิ ซึบูราญ่า และร่วมสร้างสรรค์แคแร็คเตอร์อุลตร้าแมนขึ้น โดยผลงานชิ้นแรกที่ลงทุนว่าจ้างให้บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด สร้างขึ้น คือ ภาพยนตร์เรื่อง “ยักษ์วัดแจ้งจัมโบ้เอ” เนื่องจากต้องการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ที่ขณะนั้นกำลังประสบปํญหาอย่างหนัก ส่วนผลงานที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ซึ่งทำรายได้ถล่มทลาย คือ “หนุมานพบเจ็ดยอดมนุษย์” ซึ่งออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นทำรายได้กว่า 70 ล้านบาท แต่ถูกนายโนโบรุ ซึบูราญ่า ประธานบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ในสมัยนั้นแอบนำไปขายให้กับบริษัท ชอว์บาร์เดอร์ ฮ่องกง และบริษัทภาพยนตร์ไต้หวัน โดยรับเงินไปกว่า 2 แสนเหรียญสหรัฐฯ โดยมิได้บอกความจริงแก่นายสมโพธิ แต่กลับไปแจ้งว่าขอยืมเงินไปก่อนแล้วจะใช้คืนภายใน 1 ปี
ส่งผลให้บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ต้องทำสัญญาโอนสิทธิอุลตร้าแมนทั่วโลกให้แก่ นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เนื่องจากไม่มีเงินชำระคืน ทั้งนี้สาเหตุที่เป็นกรณีพิพาทเกิดจากนายสมโพธิพบว่า บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ได้ละเมิดสิทธิของตนตามสัญญาโอนสิทธิอุลตร้าแมนที่ทำไว้ในครั้งนั้น
แม้ว่าบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด จะออกจดหมายขอโทษและยอมรับสิทธิสัญญาดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ปฎิบัติตาม นอกจากนี้ยังขอเจรจาเพื่อทำสัญญาฉบับใหม่แต่ก็ล้มเหลว เนื่องจากบริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลหลายประการและเสนอเงื่อนไขสัญญาที่เอาเปรียบ เมื่อการเจรจาไม่ประสบผล การฟ้องร้องจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยเริ่มตั้งแต่ กรกฎาคม 2540 บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ยื่นฟ้องนายสมโพธิที่ญี่ปุ่น ต่อมาในเดือนธันวาคม 2540 บริษัท ซึบูราญ่า โปรดักชั่นส์ จำกัด ฟ้องนายสมโพธิ ฐานละเมิดลิขสิทธิ์และแจ้งความเท็จ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ประเทศไทย
วันที่ 4 เมษายน 2543 ศาลชั้นต้นพิพากษา ณ ประเทศไทย ตัดสินให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ชนะคดีและมีสิทธิตามสัญญาทุกประการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมานี้ ศาลแขวง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ตัดสินให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย สิทธิตามสัญญาทุกประการ เช่นเดียวกัน
หลังจากที่ต่อสู้กับคดีนี้มายาวนานถึง 7 ปี นายสมโพธิกล่าวพร้อมน้ำตาถึงความรู้สึกในตอนนี้ว่า “ ผมรู้สึกตื้นตันใจ ญี่ปุ่นเคยสบประมาทว่าคนไทยโกง แต่ผมขอยืนยันว่าไม่ได้โกง ผมเก็บหลักฐานทุกอย่างเอาไว้ตลอด โดยที่มาของอุลตร้าแมนนั้นนำมาจากพระพักตร์ของพระพุทธรูป ส่วนสัตว์ประหลาดจำลองแบบแคแร็คเตอร์มาจากเรื่องรามเกียรติ์
2 เมษายน 2550
http://www.prolinkthailand.com/the%20Judgment.pdf
6 ต.ค.2553
http://lawtoknow.blogspot.com/2010/10/blog-post.html
27 กรกฎาคม 2554
ウルトラマン「海外利用権」 円谷プロの賠償命令取り消し 知財高裁
2011.7.27 22:37
ウルトラマン関連グッズの海外での独占利用権を侵害されたとして、東京都内の企画会社が円谷プロダクション(東京)に1億円の損害賠償を求めた訴訟の控訴審判決で、知財高裁(飯村敏明裁判長)は27日、円谷プロ側に約1600万円の支払いを命じた1審東京地裁判決を取り消し、企画会社側の請求を棄却した。
企画会社は、円谷プロが海外利用権を譲渡したタイの制作会社会長から権利を譲り受けたのに、円谷プロが契約に反し、バンダイ(東京)など他社のライセンス使用を許諾したとして、提訴していた。
控訴審では、円谷プロを傘下に収めるバンダイが新たに参加。同社はタイ国内を除く海外利用権行使の放棄を条件として平成10年、会長側に1億円を支払っていたことを明らかにした。
飯村裁判長は円谷プロのライセンス許諾の一部について契約違反を認定した上で、会長側がバンダイとの交渉により「想定されるいかなる権利も放棄したことは明らか」と指摘。円谷プロは賠償責任を負わないとした。
ウルトラマンの海外利用権をめぐっては、円谷プロと会長が権利譲渡契約の有効性を争った訴訟が既に終結。飯村裁判長は、最高裁が会長の利用権を認めた確定判決を前提に判断を示した。一方、タイの最高裁では契約書が偽造されたとして、契約自体が否定されている。
จาก
http://sankei.jp.msn.com/affairs/news/110727/trl11072722380007-n1.htm
ลุงกู๋ แปลว่า
Ultraman"สิทธิระหว่างประเทศที่จะใช้"ทรัพย์สินทางปัญญาศาลมีคำสั่งเพิกถอนการชดเชยสูง Tsuburaya
2011.7.27 22:37
เช่นมีการละเมิดการใช้งานพิเศษของสินค้าต่างประเทศ Ultraman, Tsuburaya Productions บริษัท มีการวางแผนการปกครองในโตเกียว (โตเกียว) ในคดีที่ขอความเสียหาย 100 ล้านเยนให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาสูง (Toshiaki Iimura ประธานผู้พิพากษา) ที่พฤษภาคม 27, ยกเลิกการทดลองครั้งแรกในกรุงโตเกียวศาลแขวงสั่งจ่าย ¥ 16,000,000 เพื่อการผลิต Tsuburaya บริษัท ฯ ยกเลิกการเรียกร้องของแผน
บริษัท วางแผนประธาน บริษัท แต่มอบสิทธิจากสิทธิการผลิตของใช้ของคนไทยในต่างประเทศ Tsuburaya, Tsuburaya Productions ขัดกับข้อตกลงดังกล่าว Bandai, โตเกียว, ได้รับอนุญาตเป็นบุคคลที่สามเช่นได้ยื่น อื่น ๆ
การอุทธรณ์ให้เป็นพอดีกับที่จะเข้าร่วมภายใต้การใหม่ Bandai Tsuburaya 1998 บริษัท อาจจะมีการสละสิทธิ์ของสิทธิชาวต่างชาติที่จะใช้การออกกำลังกายยกเว้นประเทศไทยประกาศว่าได้จ่ายเงิน 100,000,000 ¥ ไปยังประธาน
Iimura มีผู้มีอำนาจของผู้พิพากษาเป็นประธานในการผิดของบางส่วนของใบอนุญาตของ Tsuburaya ที่เจรจากับประธานของบันไดคือ"สละสิทธิ์ใด ๆ ที่คาดว่าจะชัดเจน"เขากล่าวว่าTsuburaya ถูกต้องรับผิด
Ultraman มากกว่าสิทธิที่จะใช้ในต่างประเทศโดยข้อสรุปที่ได้ท้าทายแล้วความถูกต้องของคดีสัญญาโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่และการโอนสิทธิ Tsuburaya ผู้พิพากษา Iimura แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะถือว่าการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของประธานศาลฎีกาได้รับการยอมรับสิทธิในการใช้ ขณะที่ศาลฎีกาของประเทศไทยมีการปลอมแปลงสัญญา, สัญญาเองได้รับการปฏิเสธ